ยินดีที่แวะมาเยี่ยม web blog ทักษะการจัดการความรู้ (KM) ทักษะการเรียนรู้ที่สำคัญและจำเป็นสำหรับผู้เรียนศตวรรษที่ 21 วิชาประวัติศาสตร์ กลุ่มสาระสังคมศึกษาฯ โรงเรียนเสลภูมิพิทยาคม ขอบคุณคุณครูชาญวิทย์ ปรีชาพาณิชพัฒนา และเพื่อนๆ ที่แนะนำให้คำปรึกษา

วันอังคารที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2558

20.อารยธรรมกรีก

     อารธรรมกรีก

    ชาวกรีกโบราณเรียกตัวเองว่า  “เฮลลีน” (Hellene) เป็นพวกอินโด-ยูโรเปียนกลุ่มหนึ่งที่อพยพมาจากทางตอนเหนือของประเทศกรีซปัจจุบันเมื่อประมาณ 2000 ปีก่อนคริสต์ศักราช ในระยะแรก กระจายอยู่เป็นเผ่าต่างๆ ในคาบสมุทรบอลข่านและเขตทะเลอีเจียน ที่สำคัญได้แก่ พวกไอโอเนียน (Ionians) และพวกไมซีเนียน (Mycenaeans) โดยทั่วไปชาวกรีกโบราณประกอบอาชีพเกษตรกรรมและเดินเรือ ต่อมาเผ่าที่มีความเจริญได้ขยายอำนาจและก่อตั้งเป็นนครรัฐ ที่สำคัญได้แก่นครรัฐของพวกไมซีเนียนซึ่งยึดครองพื้นที่ส่วนใหญ่ และมีอำนาจสูงสุดประมาณปี 1600-1100 ก่อนคริสต์ศักราช โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่เมืองไมซีเนทางตอนใต้ของประเทศกรีซในปัจจุบัน พวกไมซีเนียนเป็นนักรบที่มีความเก่งกล้าสามารถยึดครองดินแดนของนครรัฐอื่นๆ รวมทั้งเกาะครีต และรับอิทธิพลของอารยธรรมต่างๆ โดยเฉพาะอารยธรรมไมนวนของชาวเกาะครีตต่อมาประมาณปี 1100 ก่อนคริสต์ศักราช พวกกรีกอีกกลุ่มหนึ่งเรียกว่า ดอเรียน (Dorians) ซึ่งอพยพมาจากทางเหนือและขยายอำนาจครอบครองดินแดนของพวกไมซีเนียน พวกนี้ได้สร้างนครรัฐสปาร์ตาเป็นศูนย์กลางปกครองของตน พวกดอเรียนมีความเจริญน้อยกว่าไมซีเนียนและไม่รู้หนังสือ จึงไม่มีหลักฐานที่กล่าวถึงดินแดนกรีกภายใต้อิทธิพลของพวกดอเรียนในช่วงปี 1100-750 ก่อนคริสต์ศักราชมากนัก จนกระทั่งประมาณปี 750 ก่อนคริสต์ศักราช ได้มีการประดิษฐ์อักษรซึ่งรับรู)แบบมาจากอักษรและพยัญชนะของพวกฟีนิเชียนที่เข้ามาติดต่อค้าขายในช่วงนั้น อย่างไรก็ตามแม้พวกดอเรียนจะมีอำนาจเข้มแข็งแต่ก็ไม่สามารถรวมอำนาจปกครองนครรัฐกรีกได้ทั้งหมดหลักจากนครรัฐสปาร์ตาเสื่อมอำนาจ เมื่อปี 371 กาอนคริสต์ศักราช นครรัฐกีกอื่นๆ ก็พยายามรวมตัวกันโดยมีนาครรัฐทีบีส (Thebes) เป็นผู้นำ แต่ในที่สุดก็ถูกกษัตริย์ฟิลิปแห่งมาซิโดเนียซึ่งอยู่ในเขตเอเชียไมเนอร์รุกรานและครอบครองเมืื่อปี 338 ก่อนคริสต์ศักราช ต่อมาเมื่อพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราช (Alexander the Great, ปี 336-323 ก่อนคริสต์ศักราช) โอรสของพระเจ้าฟิลิปได้ปกครองจักรวรรดิมาซิโดเนีย พระองศ์ได้ขยายอาณาจักรออกไปอย่างกว้างขวางจนถึงเขตลุ่มแม่น้ำสินธุและได้ครอบครองแหล่งอารยธรรมต่างๆ ของโลก ได้แก่ อียิปต์ เมโสโปเตเมีย และเปอร์เซีย จึงมีการรับความเจริญจากแหล่งต่างๆ เหล่านั้นมาผสมผสานกับอารยธรรมกรีก เรียกว่า อารยธรรมเฮลเลนิสติกตามชื่อสมัยเฮลเลนิสติก (Hellenistic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่สมัยของพระเจ้าอะเล็กซานเดอร์มหาราชจนกระทั่งสิ้นสลายเมื่อประมาณปี 146 ก่อนคริสต์ศักราช จากนั้นดินแดนกรีกได้ตกอยู่ใต้การปกครองของจักรวรรดิโรมัน ความเจริญต่างๆ ที่ชาวกรีกสั่งสมไว้ก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของอารยธรรมโรมัน

มรดกของอารยธรรมกรีก

1.ด้านสถาปัตยกรรม ชาวเอเธนส์ได้สร้างสรรค์งานด้านสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นให้แก่ชาวโลกจำนวนมาก ส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างอาคารเพื่อกิจกรรมสาธารณะ เช่น วิหาร สนามกีฬา และโรงละคร ความโดดเด่นของงานสถาปัตยกรรมไม่ได้ขึ้นอยู่กับความใหญ่โตของสิ่งก่อสร้าง แต่เป็นความงดงามของสัดส่วนที่สมบูรณ์
แบบ ตัวอย่างเช่น วิหารพาร์เทนอน  (Parthenon) ที่ตั้งอยู่บนเนินเขาอะโครโพลิส (Acropolis) เป็นสิ่งก่อสร้างที่มีสัดส่วนงดงามทั้งความยาว ความกวว้างและความสูง จัดว่าเป็นผลงานชิ้นเอกของโลก สถาปั ตยกรรมของกรีกแบ่งออกเป็น 3 ชนิดตามลักษณะของหั วเสาได้แก่ แบบดอริ ก(Doric) ที่มีลักษณะตัวเสาส่วนล่างใหญ่เรียวขึ้นเล็กน้อยตามลำเสาเป็นทางยาวไม่มีลวดลายแบบไอโอนิก (Ionic) มีลักษณะเรียวว่าแบบดอริกแผ่นหินบนหัวเสามีลอนย้อยม้วนลงมาทั้งสองข้างทำให้มีความแช่มช้อยและ แบบโครินเธียน(Corinthian) เป็นแบบที่ดัดแปลงโดยมี การตกแต่งประดับประดาหัวเสาด้วยการแกะสลักเป็นรูปใบไม้ทำให้หรูหรามากขึ้น


2.ความเจริญด้านปรัชญา ความเจริญด้านปรัชญาได้รับการยกย่องว่าเป็นความเจริญรสูงสุดของภูมิปัญญากรีกเช่นเดียวกับความเจริญด้านศิลปกรรม นักปรัชญากรีกที่มีชื่อเสียงโดดเด่น ได้แก่ โซเครติส เพลโต และอริสโตเติล

โสเครติส (Socrates) เกิดที่นครเอเธนส์ มีชีวิตอยู่ระหว่างปี 469-399 ก่อนคริสต์ศักราช เขาสอนให้คนใช้เหตุผลและสติปัญญาในการแสวงหาความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์ วิธีสอนของเขาซึ่งเรียกว่า “Socretic method” ไม่เน้นการท่องจำ แต่ใช้วิธีตั้งคำถามโดยไม่ต้องการคำตอบ แต่ให้ผู้ถูกถามขบคิดปัญหาเพื่อหาคำตอบด้วยตนเอง แม้โซเครติสจะสั่งสอนลูกศิษย์มากมาย แต่ก็ไม่เคยมีผลงานเขียนของตนเอง ดังนั้นปรัชญาและทฤษฎีของเขาที่รู้จักกันสืบมาจึงเป็นผลงานที่ถ่ายทอดโดยลูกศิษย์ของเขา



เพลโต (Plato) เป็นศิษย์เอกของโซเครติส เกิดที่นครเอเธนส์ประมาณ 429 ปีก่อนคริสต์ศักราชและเป็นผู้ถ่ายทอดหลักการและความคิดของโซเครติสให้ชาวโลกได้รับรู้ เพลโตได้เปิดโรงเรียนชื่อ “อะแคเดอมี” (Academy) และได้เขียนหนังสือที่สะท้อนแนวคิดเกี่ยวกับการปกครอง การศึกษา ระบบยุติธรรม ผลงานที่โดนเด่นและทำให้เขาได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งปรัชญาการเมืองสมัยใหม่คือหนังสือชื่อ สาธารณรัฐ (Republic) ซึ่งเสนอแนวคิดในการปกครองประเทศและมีอิทธิพลต่อความคิดทางการเมืองของผู้คนทั่วโลก


อริสโตเติล (Aristotle) เป็นทั้งนักปรัชญาและนักวิทยาศาสตร์ เขาเป็นศิษย์ที่ชาญฉลาดของเพลโตและเคยเป็นพระอาจารย์ของพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราชแห่งมาซิโดเนีย อริสโตเติลเป็นทั้งปราชญ์และนักวิจัยที่มีความสนใจหลากหลาย นอกจากปรัชญาทางการเมืองแล้ว เขายังสนใจวิทยาการใหม่ๆ อีกมาก เช่น ชีววิทยา ฟิสิกส์ ดาราศาสตร์ หลักตรรกศาสตร์ วาทกรรม จริยศาสตร์ ฯลฯ ผลงานที่โดดเด่นของเขาคือหนังสือชื่อ การเมือง (Politics) ซึ่งเป็นการวิจัยรูปแบบการปกครองของนครรัฐต่างๆ ถึง 150 แห่ง


3.การเขียนประวัติศาสตร์ กรีกเป็นชาติแรกในโลกตะวันตกที่เริ่มศึกษาประวัติศาสตร์ตามแบบวิธีการทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้แก่ การสืบค้นข้อมูล การตรวจสอบหลักฐาน และการเลือกใช้ข้อมูล นักประวัติศาสตร์กรีกคนแรกที่เริ่มเขียนงานประวัติศาตร์ในลักษณะนี้คือ เฮโรโดตัส (Herodotus) ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งประวัติศาสตร์ของโลกตะวันตก นอกจากนี้ยังมี ทูซิดิดีส (Thucydides) นักประวัติศาสตร์ที่ได้รับการยกย่องด้านการสร้างผลงานทางประวัติศาสตร์และมาตรฐานของวิธีการศึกษาค้นคว้าทางประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นแบบอย่างที่ยึดถือกันอยู่ในปัจจุบัน